ประวัติกองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ในปัจจุบันเป็นหน่วยงานระดับกองบังคับการ ขึ้นตรงต่อสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ การจัดรูปองค์กร มีผู้บังคับการยศพลตำรวจตรีเป็นผู้บังคับบัญชาสูงสุด รับผิดชอบในการบริหารงาน 

  กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่พุทธศักราช 2498 เพื่อทำหน้าที่สนับสนุนในการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม และเก็บรวบรวมสถิติทุกประเภท แล้วนำมาวิจัยค้นคว้ามูลเหตุการณ์เกิด เพื่อใช้ในการวางแผน ป้องกันปราบปรามอาชญากรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นทั่วราชอาณาจักร โดยมี พล.ต.ต.เยื้อน ประภาวัตร ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง และหัวหน้ากองวิทยาการ กรมตำรวจ เป็นผู้ริเริ่ม และได้พิจารณาเห็นว่าการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมเท่าที่เป็นอยู่ ตกเป็นอำนาจและหน้าที่หลายฝ่าย เช่น กรมตำรวจ กรมการปกครอง กรมอัยการ และอื่น ๆ ต่างฝ่ายต่างก็บริหารงานกันไปตามอำนาจและหน้าที่ของตนซี่งมีอยู่ตามลำพัง ขาดการติดต่อประสานงานซึ่งกันและกันเท่าที่ควร ขาดการเร่งรัดให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมทันกับเหตุการณ์ ขาดการประมวลเรื่องราวหรือเก็บสถิติอาชญากรรมไว้เป็นหลักฐาน ทำให้การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร  จึงได้ทำความเห็นเสนออธิบดีกรมตำรวจว่าสมควรที่จะให้จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่เป็นหน่วยกลางในการพิจารณาและสั่งการป้องกันและปราบปราอาชญากรรม โดยเรียกว่า  “คณะกรรมการวางแผนการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม” ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น กองวิจัยและวางแผน โดยใช้อักษรชื่อย่อว่า “ศปอ” ประกอบด้วย ดังนี้

เลื่อนไปทางขวา  

ลำดับ

ตำแหน่ง

ตำแหน่งคณะทำงาน ศปอ

1

รองอธิบดีกรมตำรวจฝ่ายปราบปราม

เป็นประธานกรรมการ

2

ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง

เป็นกรรมการ

3

ผู้บัญชาการตำรวจภูธร

เป็นกรรมการ

4

บัญชาการตำรวจนครบาล

เป็นกรรมการ

5

รองอธิบดีกรมมหาดไทย ฝ่ายสอบสวน

เป็นกรรมการ

6

ผู้อำนวยการกองคดี กรมอัยการ

เป็นกรรมการ

7

รองอธิบดีกรมป้องกันสาธารณภัย

เป็นกรรมการ

8

หัวหน้ากองคดี กรมตำรวจ

เป็นกรรมการ

9

หัวหน้ากองวิทยาการ กรมตำรวจ

เป็นกรรมการ/เลขานุการ

 โดยให้หัวหน้ากองวิทยาการ กรมตำรวจ จัดเจ้าหน้าที่ขึ้นทำหน้าที่รับส่งข่าว ประมวลข่าว เตรียมระเบียบวาระการประชุมพิจารณาสำนวนการสอบสวน ทำสถิติต่าง ๆ ทำงานสารบรรณ และอื่น ๆ เพื่อให้ดำเนินการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรมของคณะกรรมการดำเนินไปด้วยดี ซึ่งขณะนั้นกรมตำรวจได้พิจารณาแล้วเห็นชอบด้วยตามเสนอ จึงได้มีคำสั่งกรมตำรวจให้ทำเรื่องราวเสนอกระทรวงมหาดไทย เพื่อขอจัดตั้งกรรมการดังกล่าว และเหตุด้วยกรรมการแต่ละท่านอยู่ต่างกรมกองกัน กระทรวงมหาดไทยเห็นชอบด้วย จึงได้มี คำสั่งที่ 466/2498 ลงวันที่ 11 พฤษภาคม 2498 โดย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทยลงนามแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย

ภายหลังจากการที่กระทรวงมหาดไทยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าวแล้ว ก็เป็นระยะเวลาพอดีที่มีการยุบเลิกกองบัญชาการตำรวจนครบาล กองบัญชาการตำรวจภูธร และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ทั้งนี้ โดยให้อำนาจผู้บัญชาการทั้ง 3 กองบัญชาการมีอำนาจสั่งราชการในแต่ละหน่วยงานได้เท่ากับอำนาจของอธิบดี กรมตำรวจ เมื่อกรณีเป็นเช่นนี้ พล.ต.ต.เยื้อน ประภาวัตร ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการ ศปอ. จึงเสนอกรมตำรวจขอแต่งตั้งเจ้าหน้าที่จากกองบัญชาการตำรวจภูธร  กองบัญชาการตำรวจนครบาล และกองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง  ซึ่งถูกยุบเลิกบางนายมาเป็นเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานของคณะกรรมการดังกล่าว กรมตำรวจก็เห็นชอบด้วย

คณะกรรมการวางแผนป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม หรือ ศปอ. นี้ ได้มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดมา จนเห็นว่าเป็นการถาวรแล้ว พล.ต.ต.เยื้อน ประภาวัตร จึงเห็นเป็นการสมควรที่จะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ปฎิบัติงานในคณะกรรมการดังกล่าวขึ้นพร้อมกับหน่วยงานขึ้นรองรับเป็นการถาวร จึงได้ดำเนินการจัดตั้ง “กองศูนย์การป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม” หรือเรียกว่า “ศปอ.” ขึ้น ในกรมตำรวจตามพระราชกฤษฏีกา พ.ศ. 2498 โดยแบ่งส่วนราชการของหน่วยงานนี้ ออกเป็น 7 แผนก ดังนี้

  1. แผนกธุรการ
  2. แผนกประมวลผล
  3. แผนกสถิติส่วนกลาง
  4. แผนกสถิติส่วนภูมิภาค
  5. แผนกวิจัย
  6. แผนกคดี
  7.  แผนกร่างแผนการ

จากปี พ.ศ. 2498 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้ ได้มีการปรับปรุงแก้ไข การจัดส่วนราชการของกองวิจัย และวางแผน เป็นลำดับเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2539 ได้มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมตำรวจ กระทรวงมหาดไทยเปลี่ยนชื่อจาก “กองวิจัยและวางแผน” มาเป็น “กองวิจัยและพัฒนา” โดยมีอำนาจหน้าที่

  1.  ดำเนินการประสานการดำเนินงานเกี่ยวกับการวิจัยเพื่อระบบ รูปแบบ เทคนิค และวิธีปฏิบัติงานในหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดการพัฒนาแก่หน่วยงานต่าง ๆ
  2. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยอื่นที่เกี่ยวข้องหรือที่ได้รับมอบหมาย

ปัจจุบัน กองวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 2 กองกำกับ และ 5 ชุดวิจัย (เทียบเท่ากองกำกับการ) คือ กองกำกับการอำนวยการ กองกำกับการส่งเสริมและประสานงานวิจัย  กองกำกับการพัฒนาบริหาร กองกำกับการชุดป้องกันและปราบปราม และกิจการพิเศษ กองกำกับการชุดปัญหาอาชญากรรม กองกำกับการชุดวิทยาการและเทคโนโลยี และกองกำกับการชุดวิเคราะห์นโยบายและประเมินผล

รายนามผู้บังคับบัญชาจากอดีตถึงปัจจุบัน

เลื่อนไปทางขวา  

ลำดับ

รายนามผู้บังคับบัญชา

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1

พล.ต.ต.ชอบ สุนทรพิพิธ

ก.พ.2504 – มี.ค.2512

2

พล.ต.ต.สุทัศน์ สุขุมวาท

21 พ.ค.2514 – 2516

3

พล.ต.ต.ชวน ศรีประสิทธ์

5 ต.ค.2516 – 22 พ.ค.2518

4

พล.ต.ต.เทพ ธีรจันทรานนท์

23 พ.ค.2518 – 30 ก.ย.2519

5

พล.ต.ต.สม อุบลศรี

1 ต.ค.2519 – 20 เม.ย.2520

6

พล.ต.ต.เสริม จารุรัตน์

21 เม.ย – 19 มี.ค.2521

7

พล.ต.ต.แผ้ว โสตถิพันธ์

2521 – ต.ค.2527

8

พล.ต.ต.วิสุทธิ์ กิตติวัฒน์

2 ต.ค.2527 – 1 ต.ค.2529

9

พล.ต.ต.สุวรรณ สุวรรณเวโช

2 ต.ค.2529 – 14 ต.ค.2531

10

พล.ต.ต.ปิติ ประจักษ์จิตต์

15 ต.ค.2531 – 18 ก.พ.2534

11

พล.ต.ต.ชาญวุฒิ วัชรพุกก์

1 มี.ค.2534 – 1 ต.ค.2535

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองวิจัยและพัฒนา

เลื่อนไปทางขวา  

ลำดับ

รายนามผู้บังคับบัญชา

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1

พล.ต.ต.ชาญวุฒิ วัชรพุกก์

กุมภาพันธ์ 2534 – ตุลาคม 2536

2

พล.ต.ต.โสทร วนิชเสถียร

ตุลาคม 2536 – ตุลาคม 2537

3

พล.ต.ต.วิเชียรโชติ สุภโชติรัตน์

ตุลาคม 2537 – ตุลาคม 2539

4

พล.ต.ต.ประดิษฐ์ กล้าณรงค์

ตุลาคม 2539 – ตุลาคม 2542

5

พล.ต.ต.นิวัตร สารพัตร

ตุลาคม 2542 – ตุลคม 2544

6

พล.ต.ต.สุรสีห์ สุนทรศารทูล

ตุลาคม 2542 – ตุลคม 2544

7

พล.ต.ต.เกษียร วรศิริ

ตุลาคม 2544 – ตุลาคม 2545

8

พล.ต.ต.สันติ  รัชตะวรรณ

ตุลาคม 2545 – กันยายน 2550

9

หัวหน้ากองวิทยาการ กรมตำรวจ

ตุลาคม 2550 – กันยายน 2552

เมื่อปี พ.ศ.2552 มีพระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552 กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่น ในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2552  “กองวิจัยและพัฒนา” เปลี่ยนชื่อหน่วยงานเป็น กองวิจัย สังกัดอยู่ในสำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจประกอบด้วย    

  1. ฝ่ายอำนวยการ
  2. กลุ่มงานส่งเสริมและประสานงานวิจัย
  3. กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 1  
  4. กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 2
  5. กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 3

กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการเป็นกองบังคับการหรือส่วนราชการอย่างอื่นในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2562 กองวิจัย มีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการเกี่ยวกับการวิจัย เพื่อพัฒนาระบบ รูปแบบ เทคนิค ยุทธวิธีตำรวจ และวิธีปฏิบัติงานของ  เจ้าหน้าที่ตำรวจ ตลอดจนสนับสนุนให้มีการถ่ายทอดการพัฒนาด้านต่าง ๆ ให้แก่ หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ         
  2. ดำเนินการเกี่ยวกับงานประเมินผลการปฏิบัติงานตามนโยบายหรือยุทธศาสตร์ด้านต่างๆ ในภาพรวมของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  3. ติดต่อประสานความร่วมมือสถาบันศึกษาหรือองค์กรอื่นทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อส่งเสริม  ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการวิจัยและพัฒนาการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
  4. ปฏิบัติงานร่วมกับหรือสนับสนุนการปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมาย

รายนามผู้ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการ กองวิจัย

เลื่อนไปทางขวา  

ลำดับ

รายนามผู้บังคับบัญชา

ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง

1

พล.ต.ต.สันติ รัชตะวรรณ

กันยายน 2552 – กันยายน 2553

2

พล.ต.ต.อนันต์ โตสงวน

พฤศจิกายน 2553 – ธันวาคม 2554

3

พล.ต.ต.สุวัฒน์ แจ้งยอดสุข

ธันวาคม 2554 – กันยายน 2555

4

พล.ต.ต.สมชาย พัชรอินโต

ธันวาคม 2555 – กันยายน 2557

5

พล.ต.ต.ปิยะ ต๊ะวิชัย

กันยายน 2557 – ตุลาคม 2558

6

พล.ต.ต.เล็ก สังข์ดิษฐ์

พฤศจิกายน 2558 – กันยายน 2560

7

พล.ต.ต.สมชาย ชูชื่น

ตุลาคม 2560 – กันยายน 2561

8

พล.ต.ต.เนติพงศ์ ธาตุทำเล

ตุลาคม 2561 – กันยายน 2562

9

พล.ต.ต.เสนิต สำราญสำรวจกิจ

ตุลาคม 2562 – กันยายน 2563

10

พล.ต.ต.หญิง ชุลีรัตน์ สงคศิริ

ตุลาคม 2563 – กันยายน 2564

11

พล.ต.ต.หญิง จุฑารัตน์ ฉัตรเพิ่มพร

ตุลาคม 2564 – กันยายน 2565

12

พล...หญิง วิรญา พรหมายน

ตุลาคม 2565กันยายน 2566

13

พล...หญิง ศรีสกุล เจริญศรี

พฤศจิกายน 2566 – ปัจจุบัน