RTPS Research Services
ระบบสืบค้นงานวิจัย กองวิจัย สยศ.ตร.
รายละเอียด
หัวข้อ :
โครงการการพัฒนามาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
title :
Developing for standard services of immigration Provinces in Special Economic Zone
ที่ปรึกษา :
เนติพงศ์ ธาตุทําเล ผู้บังคับการกองวิจัย
จุฑารัตน์ ฉัตรเพิ่มพร รองผู้บังคับการกองวิจัย
ปี :
2562
บทคัดย่อ :
การศึกษาโครงการการพัฒนามาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ทราบปัญหาและอุปสรรคการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
2. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
3. หาแนวทางการพัฒนามาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
คณะผู้วิจัยได้ทำการสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติผู้มารับบริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 10 จังหวัด ได้แก่ ตาก มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา ตราด หนองคาย นราธิวาส เชียงราย นครพนมและกาญจนบุรี รวมประชากรในการศึกษาทั้งสิ้น 695 ตัวอย่าง เพื่อให้ได้คำตอบตามวัตถุประสงค์ จากการศึกษาครั้งนี้มีข้อสรุปผลการวิจัย ดังต่อไปนี้
1. ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อปัจจัยด้านผู้ให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่มีอิทธิพลต่อการให้บริการ
1.1 ด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 คิดเป็นร้อยละ 83.90 โดยผู้ใช้บริการมีความเห็นด้วยสูงสุดในประเด็นอาคารตรวจคนเข้าเมืองมีบรรยากาศที่ดี สะอาด มีขนาดเหมาะสม มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.27 คิดเป็นร้อยละ 85.40 และประเด็นที่ผู้ใช้บริการ มีความเห็นด้วยน้อยที่สุด คือ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ เช่น ที่จอดรถ ห้องน้ำ เก้าอี้นั่งรอ เป็นต้น มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 คิดเป็นร้อยละ 82.20
1.2 ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.42 คิดเป็นร้อยละ 88.40 โดยผู้ใช้บริการมีความเห็นด้วยสูงสุดในประเด็นเจ้าหน้าที่มีบุคลิกภาพที่ดี แต่งกายสุภาพเรียบร้อย ขณะปฏิบัติหน้าที่ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.49 คิดเป็นร้อยละ 89.80 ประเด็นที่ผู้ใช้บริการมีความเห็นด้วยน้อยที่สุด คือ เจ้าหน้าที่มีความกระตือรือร้นเอาใจใส่ในการให้บริการ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 คิดเป็นร้อยละ 87.00
1.3 ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 คิดเป็น ร้อยละ 85.90 โดยผู้ใช้บริการมีความเห็นด้วยสูงสุดเท่ากันใน 2 ประเด็น คือ การให้บริการแต่ละประเภทมีคำแนะนำและขั้นตอนที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย สะดวกแก่ผู้รับบริการ และมีระบบการจัดให้บริการตามลำดับก่อนหลัง มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.32 คิดเป็นร้อยละ 86.40 ประเด็น ที่ผู้ใช้บริการมีความเห็นด้วยน้อยที่สุด คือ มีการเชื่อมต่อกับระบบการให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 คิดเป็นร้อยละ 85.00
2. ผลการศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใช้บริการต่อปัจจัยด้านความคาดหวังในการใช้บริการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 คิดเป็นร้อยละ 85.60 โดยผู้ใช้บริการมีความคิดเห็นสูงสุดในประเด็นได้รับบริการที่ดีจากเจ้าหน้าที่ มีคะแนนค่าเฉลี่ย
เท่ากับ 4.34 คิดเป็นร้อยละ 86.80 รองลงมา มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากัน 2 ประเด็น คือ มีระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยครอบคลุมการปฏิบัติหน้าที่ทุกด้าน และมีสิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.25 คิดเป็นร้อยละ 85.00
. 3. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจภาพรวมของผู้ใช้บริการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 คิดเป็นร้อยละ 87.20
4. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจภาพรวมในการใช้บริการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ตามรายจังหวัด พบว่า ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่มีลำดับคะแนน ความพึงพอใจภาพรวมจากมากที่สุดไปถึงน้อยที่สุด (คะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.36 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.20) ดังนี้
1. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.74 หรือคิดเป็นร้อยละ 94.80
2. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนราธิวาส มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.72 หรือคิดเป็นร้อยละ 94.40
3. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.64 หรือคิดเป็นร้อยละ 92.80
4. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนม มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 หรือคิดเป็นร้อยละ 90.40
5. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดกาญจนบุรี มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 หรือคิดเป็นร้อยละ 89.20
6. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.00
7. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตราด มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.60
8. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงราย มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.19 หรือคิดเป็นร้อยละ 83.80
9. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลา มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 หรือคิดเป็นร้อยละ 82.00
10. ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว มีคะแนนค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.65 หรือคิดเป็นร้อยละ 73.00
โดยมีตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่มีคะแนนสูงกว่าคะแนนความพึงพอใจภาพรวม มีจำนวน 5 แห่ง คือ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดหนองคาย ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนราธิวาส ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตาก ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดนครพนมและตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดกาญจนบุรี ส่วนตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดที่มีคะแนนต่ำกว่าคะแนนความพึงพอใจภาพรวม มีจำนวน 5 แห่ง คือ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดมุกดาหาร ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดตราด ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดเชียงราย ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสงขลาและตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดสระแก้ว
5. ผลการศึกษาการเปรียบเทียบความแตกต่างของความพึงพอใจภาพรวมในการให้บริการกับความคาดหวังในการใช้บริการในประเด็นความพึงพอใจการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พบว่า ความพึงพอใจต่อการให้บริการกับความคาดหวังในการใช้บริการ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ผู้รับบริการมีความพึงพอใจต่อการให้บริการ ( = 4.36 หรือคิดเป็นร้อยละ 87.20) สูงกว่าความคาดหวังในการใช้บริการ ( = 4.28 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.60) แสดงว่า โดยรวมผู้รับบริการมีความพึงพอใจมากกว่าระดับความคาดหวัง ที่ผู้รับบริการตั้งเป้าหมายไว้ หรือถือได้ว่าการให้บริการสูงกว่าระดับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ
6. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างปัจจัยพื้นฐานทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ สัญชาติ อาชีพ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส จำนวนครั้งที่มาติดต่อใช้บริการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ และเรื่องที่มาติดต่อใช้บริการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ กับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พบว่า ผู้รับบริการที่มีสัญชาติ ระดับการศึกษาและสถานภาพการสมรสแตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ กล่าวคือ ผู้รับบริการที่มีสัญชาติกลุ่มประเทศอาเซียนและอื่น ๆ ( = 4.44 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.80) มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สูงกว่าผู้รับบริการที่มีสัญชาติไทย ( = 4.21 หรือคิดเป็นร้อยละ 84.20) ในขณะเดียวกันผู้รับบริการที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. และอื่น ๆ ( = 4.40 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.00) มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สูงกว่าผู้รับบริการที่มีการศึกษาระดับอนุปริญญา/ปวส. ปริญญาตรีและปริญญาโท ( = 4.27 หรือคิดเป็นร้อยละ 85.40) และผู้รับบริการที่มีสถานภาพสมรส หย่าร้าง/แยกกันอยู่ และคู่สมรสเสียชีวิต ( = 4.41 หรือคิดเป็นร้อยละ 88.20) มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สูงกว่าผู้รับบริการที่มีสถานภาพโสด ( = 4.30 หรือคิดเป็นร้อยละ 86.00) ส่วนปัจจัยพื้นฐานทั่วไปอื่น ๆ ของผู้รับบริการ ได้แก่ เพศ อายุ อาชีพ จำนวนครั้งที่มาติดต่อ ใช้บริการตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษและเรื่องที่มาติดต่อใช้บริการ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่แตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ไม่แตกต่างกัน

7. ผลการศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นปัจจัยด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรผู้ให้บริการและด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการกับมาตรฐาน การให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พบว่า ผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นปัจจัยด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรผู้ให้บริการและด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ที่มีความคิดเห็นแตกต่างกัน มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของ ตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทั้ง 3 ด้าน กล่าวคือ ในด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม ผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นมากกว่า ( = 4.74 หรือคิดเป็นร้อยละ 94.80) มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สูงกว่าผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นน้อยกว่า ( = 3.94 หรือคิดเป็น ร้อยละ 78.80) ในขณะเดียวกันด้านบุคลากรผู้ให้บริการ ผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นมากกว่า ( = 4.74 หรือคิดเป็นร้อยละ 94.80) มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สูงกว่าผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นน้อยกว่า ( = 3.89 หรือคิดเป็นร้อยละ 77.80) และด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ ผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นมากกว่า ( = 4.74 หรือคิดเป็นร้อยละ 94.80) มีความเห็นเกี่ยวกับมาตรฐาน การให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ สูงกว่าผู้รับบริการที่มีความคิดเห็นน้อยกว่า ( = 3.94 หรือคิดเป็นร้อยละ 78.80)
จากการศึกษาการพัฒนามาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ พบว่า ผู้รับบริการในภาพรวมมีคะแนนความพึงพอใจสูงกว่าความคาดหวังของผู้รับบริการ แสดงว่าผู้รับบริการมีความพึงพอใจในมาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัด ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในระดับหนึ่ง ทั้งนี้ยังพบประเด็นปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจ หรือมาตรฐานการให้บริการได้แก่ ปัจจัยด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม ด้านบุคลากรผู้ให้บริการและด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ อีกทั้งความแตกต่างของผู้รับบริการ ได้แก่ สัญชาติ ระดับการศึกษา และสถานภาพการสมรส มีผลต่อความพึงพอใจหรือมาตรฐานการให้บริการ ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนามาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จึงควรมีแนวทางปรับปรุงและพัฒนามาตรฐานการบริการให้เกิดความพึงพอใจมากขึ้น ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนามาตรฐานการให้บริการของตรวจคนเข้าเมืองจังหวัดในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ควรเน้นการปรับปรุงและพัฒนาปัจจัยองค์ประกอบ ได้แก่
1.1 ด้านสถานที่/สิ่งแวดล้อม จัดสิ่งอำนวยความสะดวกให้เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้บริการ เช่น ที่จอดรถ ห้องน้ำ เก้าอี้นั่งรอ เป็นต้น
1.2 ด้านบุคลากรผู้ให้บริการ จัดให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ให้มีจิตใจในการให้บริการ (Service Mind) เพื่อเพิ่มความกระตือรือร้น เอาใจใส่ในการให้บริการมากขึ้น
1.3 ด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการ พัฒนาระบบการให้บริการให้เชื่อมต่อกับระบบของหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สามารถรับบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็ว เช่น พัฒนาระบบงานขออยู่ต่อในราชอาณาจักร การเปลี่ยนประเภทการตรวจลงตรา การขอมีถิ่นที่อยู่ ฯลฯ ในรูปแบบการให้บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว (One Stop Service) เป็นต้น
2. ผู้รับบริการมีความหลากหลายสัญชาติที่แตกต่างกัน เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับมาตรฐาน การให้บริการเป็นที่ยอมรับ จึงควรเน้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการให้บริการอย่างเท่าเทียมกันไม่ว่าผู้รับบริการจะมีสถานะใด ๆ ก็ตาม สตม. ซึ่งในฐานะเป็นหน่วยงานหลักควรจัดให้มีการอบรมชี้แจง ให้เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการมีความตระหนักและให้บริการอย่างเท่าเทียม



abstract :
The study of the project to improve the standard of immigration service in the provinces in the special economic development zone aims to
1. Identify the difficulties and impediments of the immigration service of the Special Economic Development Zone provinces.
2. Study on determinants affecting immigration services of the Special Economic Development Zone provinces.
3. Locate solutions to enhance the standard of immigration service in the Special Economic Development Zone provinces.
The research team has conducted a survey from a sample group using questionnaires as a research tool to congregate data from both Thai and foreign citizens who the services have been rendered to at the immigration center of the Special Economic Development Zone province, in 10 provinces including Tak, Mukdahan, Sra Kaeo, Songkhla, Trat, Nong Khai, Narathiwat, Chiang Rai, Nakhon Phanom, and Kanchanaburi, with a total of 695 samples to suffice the research purpose. From this study, the conclusions are as follows.
1. The results of the study of the users' evaluation levels on the administrators of service providers at the Immigration Center in the Special Economic Development Zone provinces that influence to the service.
1.1 Location and surroundings with the average score is 4.19, representing 83.90 percent. The participants agreed the most with regard to the immigration center in a good atmosphere, clean, and suitable size subject matter, with an average score of 4.27, representing 85.40 percent. The least agreed by customer on providing of adequately facilities subject matters such as parking, toilets, waiting chairs etc., with an average score of 4.11, representing 82.20%.
1.2 Service personnel with the average score is 4.42, representing 88.40%. The customer agreed the most in the subject matter of the staffs hold good personality, dress appropriately while performing their duties with an average score of 4.49, representing 89.80%. The least agreed subject matter is the staff are enthusiastic and attentive to the service, with an average score of 4.35, representing 87.00%.
1.3 Service process with the average score of 4.29, representing 85.90%
The customers most agreed 2 subject matters, namely each service section has clear instructions and procedures, easy to understand, convenient for clients and systematically, and providing services on a first-come, first-served basis, with an average score of 4.32, representing 86.40%. As for the least agreed subject matter is the integration with other related service systems, with an average score of 4.25, representing 85.00%.
2. The results of the study of the opinions of users on the expectations of the performance of immigration services in the Special Economic Development Zone provinces have an average score of 4.28, representing 85.60%. The customers agreed most on the subject matters of receiving good services from staff, with an average score of 4.34, representing 86.80%, followed by an average score of 2 points, which consisted of duties covering modern technology system in all areas and hold adequate facilities, with an average score of 4.25, representing 85.00%.

3. The result of the study of the satisfaction level of the Service receiver of the immigration service in the Special Economic Development Zone provinces has an average score of 4.36, representing 87.20%
4. The result of the study of the satisfaction level in immigration services rendering in the Special Economic Development Zone provinces according to the province, it was found that the provincial immigration ranked the highest overall satisfaction rating from highest to lowest (The average score is 4.36 or 87.20%) are as follows.
1. Nong Khai Immigration Center, an average score of 4.74 or 94.80%.
2. Narathiwat Immigration Center, an average score of 4.72 or 94.40%.
3. Tak Immigration Center, an average score of 4.64 or 92.80%.
4. Nakhon Phanom Immigration Center, an average score of 4.52 or 90.40%.
5. Kanchanaburi Immigration Center, an average score of 4.46 or 89.20%
6. Mukdahan Immigration Center, an average score of 4.35 or 87.00%.
7. Trat Immigration Center, an average score of 4.28 or 85.60%.
8. Chiang Rai Immigration Center, an average score of 4.19 or 83.80%.
9. Songkhla Immigration Center, an average score of 4.10 or 82.00%.
10. Sra Kaeo Immigration Center, an average score of 3.65 or 73.00%.
Where 5 provinces immigration centers hold the scores higher than the overall satisfaction scores including Nongkhai, Narathiwat, Tak, Nakhon Phanom, and Kanchanaburi. As for the 5 provincial immigration with a score lower than the satisfaction score in general, including Mukdahan, Trat, Chiang Rai, Songkhla, and Sa Kaeo.
5. The results of the study comparing the differences of satisfaction in overall services and the expectation of the services rendering regarding the satisfaction of the services of immigration in the Economic Development Zone provinces found the satisfaction with service and expectations of using the service recipients were significantly different ( = 4.36 or 87.20%), higher than the expectation of the service rendering ( = 4.28 or 85.60%). This can be concluded that the overall service recipients are more satisfied than the level of expectations or can be considered that the service level is higher than the standard level of provincial immigration checkpoint in the Special Economic Development Zone provinces.
6. The results of the study compare the differences between general basic factors including gender, age, nationality, occupation, education level, marital status, number of times service rendering at the immigration service in the Special Economic Development Zone provinces and the matter of contacting the provincial immigration service in the Special Economic Development Zone with the service standards of the provincial immigration in the Special Economic Development Zone found that the service recipients of different nationalities, educational levels, and marital status holds significant differences in opinions regarding the service standards of the provincial immigration districts in the Special Economic Development Zones. That is, service recipients with citizenship in ASEAN countries and others ( = 4.44 or 88.80 percent) had higher satisfaction on the service standards of provincial immigration in the Special Economic Development Zone than those who have Thai nationality ( = 4.21 or 84.20%). At the same time, service recipients with a lower education level than high school / vocational certificate, upper Secondary / Vocational Certificate and others ( = 4.40 or 88.00%) had the satisfaction on the service standard of the provincial immigration in the Special Economic Development Zone higher than the recipients with diploma / high vocational certificate Bachelor's and Master's degrees ( = 4.27 or 85.40%) and clients with marital status divorced/separated and spouses ( = 4.41 or 88.20%) had the opinion about the service standard of the provincial immigration in the Special Economic Development Zone higher than the service recipients with single status ( = 4.30 or equivalent 86.00 percent). As for other general fundamentals of service recipients, such as gender, age, occupation, the number of visits and service rendering at the provincial immigration service in the Special Economic Development Zone, and matters for contacting the immigration service in the Special Economic Development Zone province had no differences in opinions regarding immigration service standards in the Special Economic Development Zone provinces.
7. The results of the study compare the differences between the satisfactions of location/surroundings factors. Regarding personnel, service providers, and process/service procedures and service standards of the provincial immigration service in the Special Economic Development Zone, it was found that service recipients had satisfaction about location/surroundings factors, service personnel. For the personnel, service, and process/service procedures with different opinions, satisfaction level on service standards of the Special Economic Development Zone provinces varies significantly in all 3 subject matters. That is to say, in terms of location/surroundings, service recipients with more satisfactions ( = 4.74 or 94.80%) have higher satisfaction level on the service standards of the provincial immigration in the Special Economic Development Zone than the service recipients with fewer satisfactions ( = 3.94 or 78.80 percent). At the same time, for service personnel subject matter, service recipients with more satisfactions ( = 4.74 or 94.80 percent) had satisfied on the service standards of the provincial immigration in the area of Special Economic Development Zones than the service recipients with fewer satisfactions ( = 3.89 or 77.80 percent) and in terms of service process/procedures, service recipients with more satisfactions ( = 4.74 Or 94.80 percent) had the more suggestions on the standard of service of immigration province in Special Economic Development Zone than the service recipients with the fewer suggestion ( = 3.94, representing 78.80%).
From the study of the standardization of immigration service in the Special Economic Development Zone provinces, it is found that the service recipients had the overall satisfaction score higher than the expectations. In other words, service recipients are satisfied with the service standards of provincial immigration in the Special Economic Development Zone. However, there are still factors affect satisfaction or service standards, including location/surroundings subject matters, personnel, service providers, and process/process of services. Also, the characteristics of the difference in clients, such as nationality, education level, and marital status affecting the satisfaction or service standards. Therefore, in order to promote the service standard of the provincial immigration in the Special Economic Development Zone, the approaches should be addressed to advance and promote the service standard for higher satisfaction levels as follows.
1. Guidelines for the standardization of immigration services in the Special Economic Development Zone provinces should focus on improving and developing on
1.1 Location/surroundings by providing sufficient facilities for the number of users such as parking lots, toilets, waiting chairs, etc.
1.2 Service personnel by rendering the training session for service minds to increase the work enthusiasm to be more attentive in duties.
1.3 Service process/steps by developing a service system to integrate with the systems of other relevant agencies in order to be able to receive services quickly and conveniently, such as developing a system to request for immigration period prolonging, the visa type application for residency and etc. in the form of one-stop service.
2. Service recipients with different nationalities. In order to standardize the service level to the clients, the emphasis should be given to the service personnel equally, regardless of the status of the clients, immigration. Immigration Unite, as the main unit, should provide and arrange training sessions for clarification to the service personnel with awareness and equally service rendering.
สังกัดหน่วยงาน :
กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 2 กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
Create TimeStamp :
2024-04-03 14:24:58
Update TimeStamp :
2024-04-04 16:48:41
เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์ รายละเอียด ขนาด ประเภท
670f34e0134b5e4d28479edfc760b15b.pdf - 2.95MB pdf