RTPS Research Services
ระบบสืบค้นงานวิจัย กองวิจัย สยศ.ตร.
รายละเอียด
หัวข้อ :
การจำแนกลักษณะองค์ประกอบของระเบิดที่เกิดขึ้นในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยใช้เทคนิค Scanning Electron Microscope/ Energy Dispersive X-ray Spectroscopy
title :
The Classification of Explosive Device with Scanning Electron Microscope with Energy Dispersive X-ray Spectroscopy
ที่ปรึกษา :
- ไม่มีข้อมูล -
ปี :
2562
บทคัดย่อ :
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ลักษณะธาตุองค์ประกอบที่สำคัญในวัตถุ ระเบิดที่พบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ รวมถึงเปรียบเทียบปริมาณธาตุ องค์ประกอบที่พบ ในระเบิดที่แตกต่างกัน โดยใช้ SEM/EDX ซึ่งเป็นการศึกษาคุณสมบัติ การกระจายและโครงสร้าง ลักษณะของธาตุองค์ประกอบของสารประกอบระเบิดเพื่อจำแนกชนิดของระเบิด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัยครั้งนี้เศษวัตถุระเบิดตัวอย่างที่ใช้ในการก่อเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัด ชายแดนภาคใต้ จำนวน 9 ประเภท
ผลการวิจัยพบว่า ธาตุองค์ประกอบของวัตถุระเบิดที่มีปริมาณแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ธาตุคาร์บอน (C) ไนโตรเจน (N) ออกซิเจน (O) แมกนีเซียม (Mg) อะลูมิเนียม (Al) ซิลิกอน (Si) โพแทสเซียม (K) โครเมียม (Cr) แมงกานีส (Mn) เหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) คลอรีน (Cl) แคลเซียม (Ca) และกำมะถัน (S) ส่วนธาตุองค์ประกอบที่มี ปริมาณไม่แตกต่างกัน ได้แก่ ไทเทเนียม (Ti) โซเดียม (Na) และเงิน (Ag) โดยธาตุ องค์ประกอบที่พบในวัตถุระเบิดทั้งประเภท 9 ได้แก่ คาร์บอน (C) ออกซิเจน (O) ซิลิกอน (Si) แมงกานีส (Mn) และเหล็ก (Fe) ธาตุองค์ประกอบที่พบในวัตถุระเบิด 8 ประเภท ได้แก่ โพแทสเซียม (K) และสังกะสี (Zn) ธาตุองค์ประกอบที่พบในวัตถุระเบิด 7 ประเภท คือ แคลเซียม (Ca) ธาตุองค์ประกอบที่พบในวัตถุ ระเบิด 6 ประเภท คือ แมกนีเซียม (Mg) ธาตุองค์ประกอบที่พบในวัตถุระเบิด 5 ประเภท คือ อะลูมิเนียม (Al) ธาตุองค์ประกอบ
ที่พบในวัตถุระเบิด 4 ประเภท คือ คลอรีน (Cl) ธาตุองค์ประกอบที่ พบในวัตถุระเบิด 2 ประเภท ได้แก่ ไนโตรเจน (N) โครเมียม (Cr) และกำมะถัน (S) ซึ่งวัตถุระเบิดทั้ง 9 ประเภทมีลักษณะธาตุองค์ประกอบและมีจำนวนและปริมาณธาตุที่เป็นองค์ประกอบ แตกต่างกัน และมีลักษณะเฉพาะตัว ขึ้นอยู่กับสารที่มีคุณสมบัติในการระเบิดและสารที่นำมาผสมเพื่อให้มีคุณสมบัติเป็นวัตถุระเบิด
abstract :
This research intends to study and analyze elemental components of explosive bomb found in Yala, Pattani and Narathiwat province in southern, Thailand. Including a comparison of elemental components in various explosive bomb by using SEM/EDX technique to classify types of explosive bomb. Samples of this study derived from the remaining of metal pieces from explosive bomb. The result shows that elemental components statistically different at 0.05 are Carbon, Nitrogen, Oxygen, Magnesium, Aluminium, Silicon, Potassium, Chromium, Manganese, Ferrous, Zinc, Chlorine, Calcium and Sulphur. The elemental component that are not significantly different are Titanium, Sodium and Silver. The elements found in all nine samples are Carbon, Oxygen, Silicon, Manganese and Ferrous. Potassium and Zinc are found in eight samples. Calcium is found in seven samples. Magnesium is found in six samples, Aluminium is found in five samples and Chlorine is found in four samples. Elements found in two samples are Nitrogen, Chromium and Sulphur. All nine samples have different elemental compound and have a unique elemental quantity depending on the types and how explosive are produced.
สังกัดหน่วยงาน :
กลุ่มงานคณาจารย์ คณะนิติวิทยาศาสตร์ โรงเรียนนายร้อยตำรวจ
Create TimeStamp :
2024-04-03 13:32:51
Update TimeStamp :
2024-04-04 14:29:45
เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์ รายละเอียด ขนาด ประเภท
415894505e491a4320c52681b2f3b5d9.pdf - 5.39MB pdf