RTPS Research Services
ระบบสืบค้นงานวิจัย กองวิจัย สยศ.ตร.
รายละเอียด
หัวข้อ :
โครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานสืบสวนสอบสวน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามการค้ามนุษย์
title :
Research Project of Development in Police Investigation and Interrogation Administration Process to Handle Human Trafficking
ที่ปรึกษา :
- ไม่มีข้อมูล -
ปี :
2562
บทคัดย่อ :
คดีค้ามนุษย์นั้นเป็นอาชญากรรมที่มีลักษณะฉพาะ และเป็นปัญหาที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยอย่างมาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติซึ่งมีหน้าที่ในการบังคับใช้กฎหมายจึงจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งคดีค้ามนุษย์มีกระบวนการดำเนินคดีที่จะต้องบูรณาการการปฏิบัติร่วมกับเจ้าหน้าที่หน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงองค์กรในภาคสังคมด้วย นอกเหนือจากการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดแล้ว ยังมีกระบวนการอื่นที่เจ้าหน้าที่ตำรวจผู้ปฏิบัติจะต้องส่งต่อเหยื่อจากการค้ามนุษย์เข้าสู่กระบวนการเยียวยา ฟื้นฟู ดูแลเหยื่อให้กลับคืนสู่สังคมได้
การศึกษาโครงการศึกษาวิจัยนี้ เพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในคดีค้ามนุษย์ ตลอดจนการศึกษาปัญหาอุปสรรคของเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ปฏิบัติงานในด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำข้อเสนอแนะอันจะนำไปสู่การพัฒนาระบบงานสืบสวนสอบสวน รวมถึงการบูรณาการในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่ของรัฐในหน่วยงานต่าง ๆ ตลอดจนองค์กรเอกชนและภาคสังคมในกระบวนการดำเนินการคดีค้ามนุษย์ ซึ่งในโครงการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการบริหารงานสืบสวนสอบสวนของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปราบปรามการค้ามนุษย์มีรูปแบบทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research)และการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มประชากร ได้แก่ เจ้าหน้าที่ตำรวจสายงานสืบสวน พนักงานสอบสวน การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ ที่ทำงานภาคสนามด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ โดยนำข้อมูลทั้งสองส่วนมาทำการวิเคราะห์และประมวลผลผลการวิจัยพบว่ข้อมูลเชิงปริมาณจากกลุ่มประชากรมีความรู้ความเข้าใจในข้อกฎหมายการเตรียมความพร้อม การวางแผนการปฏิบัติการ ตลอดขั้นตอนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ และขั้นตอนการปฏิบัติในคดีค้ามนุษย์ร่วมกับทีมสหวิชาชีพอยู่ในเกณฑ์ตี โดยเมื่อสัมภาษณีในเชิงลึกจากผู้เชี่ยวชาญจึงทราบถึงปัญหาความไม่ต่อเนื่องของกระบวนการและขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นในขั้นตอนการคัดแยกผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ หรือในขั้นตอนการส่งตัวผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ไปสู่กระบวนการฟื้นฟู เยียวยา มีข้อจำกัดในทางปฏิบัติและมีความต้องการให้มีการฝึกอบรมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในคดีค้ามนุษย์ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีการทำงานไปในทิศทางเดียวกัน
ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา โครงการวิจัยนี้คือ
๑ ควรจัดให้มีการฝึกอบรม พื่อปรับทัศนคติ สร้งองค์ความรู้ในการปฏิบัติงาน ให้แก่เจ้าหน้าที่สืบสวนสอบสวนที่ปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์ ตลอดจนเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานอื่นเพื่อให้มีการทำงานไปในแนวทางเดียวกัน
๒ ควรห้ความสำคัญเรื่องการสนับสนุนต้นงปประมาณ ซึ่งจะต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบงานงบประมาณให้แก่ผู้ปฏิบัติทราบในรายละเอียดให้เข้าใจได้ถูกต้อง ชัดเจน และสามารถปฏิบัติเกี่ยวกับการเบิกจ่ายและขอรับการสนับสนุนได้อย่างถูกต้อง ทั้งนี้รวมถึงการสนับสนุนด้านวัสดอุปกรณ์ในการปฏิบัติงาน
๓. ควรจัดทำคู่มือในการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐาน (SOP : Standard Operating Procedure) สำหรับงานสืบสวนสอบสวนเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานเข้าใจระบบงานและกระบวนการอันจะทำให้เกิดประสิทธิภาพในการดำเนินคดีค้ามนุษย์
abstract :
Human trafficking is a unique crime and has a negative impact in Thailand. The Royal Thai Police are a key organization for enforcing human trafficking laws, and they see the importance of these issues. Working on human trafficking cases, one must work holistically with other organizations including civil society. Besides working with the offenders, police must ensure that victims of human trafficking receive rehabilitation and are able to reintegrate back in to society.
This study aims to develop the investigation capacity of police working on human trafficking cases, to study the difficulties and challenges that police face in combatting human trafficking, and to try to find solutions. Using input and suggestions, the study hopes to improve the investigation of human trafficking cases, and to devise ways that diverse organizations- police, government agencies, and non-governmental organizations- can work together comprehensively. This research employs both quantitative and qualitative research techniques. The population of this research has been collected from police detectives, inquiry officers, honorary persons,
and experts who are working on the ground in fighting this crime. Both quantitative and qualitative data were evaluated and analyzed. Quantitative data shows that the sample population has
an understanding of anti-trafficking laws in terms of operation planning, the victim identification process, and the process of working with a multidisciplinary team at a ‘good’ level. However,
the result from in depth interviewing demonstrates inconsistencies in understanding the process and procedures of victim identification and referring victims for restoration/rehabilitation.
The knowledge is still limited and there is still a high level of need for anti-trafficking staff to be trained in order to increase their capacity and update their competencies.
สังกัดหน่วยงาน :
กลุ่มงานวิจัยและประเมินผล 1 กองวิจัย สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ
Create TimeStamp :
2024-04-03 14:42:28
Update TimeStamp :
2024-04-04 14:28:24
เอกสารดาวน์โหลด
ไฟล์ รายละเอียด ขนาด ประเภท
591ddb5bf423e35a8abd4fac2bfc9f33.pdf - 7.25MB pdf